แบบชุดแต่งงาน ไทย สมัยออเจ้า
แบบชุดแต่งงาน ไทย สมัยออเจ้า
ชุดแต่งงาน เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย วันนี้เราจะมาย้อนให้ดูชุดแต่งงานช่วงอยุธยาตอนปลายที่เคยปรากฏอยู่ในละครเรื่องต่างๆ ยกตัวอย่าง ละครยอดฮิตเรื่อง พิศสวาท เป็นชุดแต่งงานไทยโบราณของฝ่ายเจ้าสาว ที่แต่งเลียนแบบชุดในยุคสมัยนั้น ประกอบด้วยผ้า 3 ผืน ซึ่งเป็นผืนเด็ดๆที่ทั้งสวยงามและสูงค่าด้วยกันทั้งหมด
ผ้านุ่งผืนงาม จาก “ผ้าเข้มขาบ” ผ้าทอไหมยกดิ้นไหมทองเป็นลายริ้วทั้งผืน โดยในสมัยอยุธยาจัดเป็นผ้าที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ผู้ที่ครอบครองจึงต้องเป็นผู้มีอันจะกิน มีฐานะ อย่างน้อยพื้นเพเดิมก็ต้องเป็นครอบครัวขุนน้ำขุนนางมีเงินอยู่ในเกณฑ์คหบดีมิใช่ชาวบ้านไก่กา ส่วนลักษณะการนุ่งเป็นแบบจีบมีกรวยเชิงซึ่งเป็นส่วนที่แสดงความวิจิตรตระการตาของผ้า หรือที่เราคุ้นเคยในชื่อ “จีบหน้านาง”
จากผ้านุ่งก็ต่อด้วยผ้าสไบแพรจีบสีเขียวเข้มมาห่มแล้วทับด้วยผ้าสะพักแดงเข้มและแต่งด้วยเครื่องถนิมพิมพ์พาภรณ์เป็นอันจบพิธี โดยได้เลือกแต่งสีตามวันอย่างความเชื่อโบราณและใช้คู่สีที่ตัดกันอย่างโดดเด่นเนื่องมาจากการค้นคว้าของผู้แต่งที่พบว่าผู้คนในยุคนั้นนิยมแต่งกายด้วยสีสดและตัดกัน
สำหรับการแต่งกายของเชื้อพระวงศ์ที่คนธรรมดาสามัญไม่อาจใช้ได้นั้นจะใช้ผ้ากรองทองนุ่งห่มแทนผ้าสะพัก ซี่งผ้าสะพักนั้นถือว่าหรูหราสมฐานะสำหรับคนธรรมดาแล้ว
ชุดกาบคำ
เรื่องราวในประวัติศาสตร์เล่าถึง “ชุดกาบคำ” ว่าเป็นเครื่องแต่งกายในวาระพิเศษของกษัตริย์แห่งราชสำนักมัณฑะเลย์ นอกจากนี้ยังเป็นชุดที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องยศแก่เจ้าฟ้า มหาเทวี เมืองเชียงตุงและไทยใหญ่ รวมถึงหัวเมืองประเทศราชและรัฐในปกครองทั้งหลาย ที่ได้ส่งเครื่องบรรณาการมาถวายเพื่อขอสวามิภักดิ์ ซึ่งการมอบ ชุดกาบคำ ให้ในลักษณะนี้นอกจากจะเป็นการเผยแผ่วัฒนธรรมการแต่งกายแล้ว ยังเป็นเหมือนการส่งมอบสัญลักษณ์ให้คนในปกครองได้ใช้ร่วมกัน ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของหลายประเทศในยุคล่าอาณานิคม นอกจากนี้ ชุดกาบคำ ยังได้รับอิทธิพลมาจาก “ชุดมหาลดา” ของราชสำนักพม่า ซึ่งได้รับช่วงต่อมาจากพุทธศาสนาอีกทอดหนึ่ง เกี่ยวกับ “ชุดมหาลดาปสาธน์” ของนางวิสาขามหาอุบาสิกา ที่มีการปักดิ้นเงินดิ้นคำ เพชรนิลจินดาและสวมชฎารูปนกยูง ตามพุทธประวัติอีกด้วย
ผ้าซิ่นไหมคำเมืองเชียงตุง
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าซิ่นบัวคำ เป็นซิ่นของราชสำนักไทเขิน เนื่องด้วยเชียงตุงเป็นเมืองการค้าระหว่างล้านนา จีน พม่า จึงรับเอาวัฒธรรมต่างๆมาผสมผสานผ่านผืนผ้าได้อย่างลงตัว ตัวซิ่นจะทอยกมุมด้วยไหมคำโดยนำทองคำหรือเงินหรือกาไหล่ทอง มารีดเป็นเส้นแบบยาว แล้วเอามาตีเกลียวกับเส้นใย ส่วนมากเป็นฝ้ายแล้วนำมาทอ
ชุดผ้าซิ่นตีนจก
เป็นการแต่งกายนุ่งซิ่นตีนจก เป็นการห่มผ้า ใช้เครื่องประดับเกล้าผมอย่างล้านนาชัดเจน ก่อนที่จะมาเปลี่ยนการแต่งกายให้เหมือนอย่างชาวอยุทธยา ในภายหลัง
ชุดกุลสตรีไทย
เป็นการนุ่งโจงกระเบน เวลาไปวัดก็จะมีห่มสไบด้วย พัฒนามาถึงตอนอยู่ที่พระนคร ก็จะแต่งตัวขึ้นมาอีกนิดหนึ่งเป็นเสื้อแขนยาวปิดถึงคอเลย มีพัฒนาการในการแต่งตัวสวยงามตามยุคนั้นๆ
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!